ศาสตร์พระราชา กังหันน้ำชัยพัฒนา นวัตกรรมจากพ่อหลวง รัชกาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น และทรงห่วงใยต่อพสกนิกรที่ต้องเผชิญในเรื่องดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2531 ได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ด้วยการใช้เครื่องกลเติมอากาศ โดยพระราชทานรูปแบบสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงในการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ กังหันน้ำชัยพัฒนา และนำมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามสถานที่ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาค
กังหันชัยพัฒนา เป็นนวัตกรรมที่เรื่องชื่อของพระราชดำริส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นโครงการที่ชาวไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ยังเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติ ด้วยรางวัลเหรียญทองจาก The Belgian Chamber of Inventor องค์กรทางด้านนวัตกรรมที่เก่าแก่ของเบลเยียมอีกด้วย ซึ่งเราสามารถเอาหลักการพระราชดำริของพระองค์มาใช้กับธุรกิจ Start Up เช่นกัน
การเล็งเห็นถึงปัญหา (find pain point)
ปัญหาน้ำเน่าเสียใจในเมืองอาจจะดูเป็นเรื่องธรรมดา เช่นเดียวกับน้ำในคลองแสนแสบที่คนคิดทำใจแล้วเรียกมันว่าคลองน้ำสีดำ แต่พระองค์ทรงเล็งเห็นว่าน้ำในแม่น้ำลำคลองเราไม่ใช่แค่น้ำสีดำ แต่เป็นน้ำเน่า ต้องแก้ไข
วิธีง่ายๆ แต่ให้ผลประโยชน์สูงสุด (lean process)
เมื่อทรงเล็งเห็นถึงปัญหาน้ำเน่าเสียใจกรุง ทุกคนต่างร่วมกันหาทางออก ทางแก้ปัญหาน้ำเน่าคือการเพิ่มออกซิเจนให้น้ำ มีการนำเขากังหันจากต่างประเทศหลายรุ่น ทั้งรุ่นที่มีมอเตอร์แรงๆ เพื่อที่จะตีน้ำให้เร็ว ออกซิเจนจะได้เข้าสู่น้ำเยอะขึ้น การนำเข้ามอเตอร์ไฟฟ้ารุ่นดีมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่พระองค์กลับทรงมีแนวพระราชดำริที่แตกต่างกันอกไป ถ้าเราต้องการให้น้ำกระจายเพื่ออกซิเจนจะได้มากขึ้น แทนที่เราจะเพิ่มความเร็วการตีน้ำ พระองค์ทรงประดิษฐ์กังหันชัยพัฒนาเพื่อเปลี่ยนที่วิดน้ำที่สัมผัสกับน้ำแทนแทน พระองค์ทรงใช้ซองวิดน้ำที่เป็นรูพรุน เพื่อให้น้ำกระจายมากขึ้น ผลออกมาว่า
เราจะแก้ปัญหาหาทางแก้ปัญหาให้ตรงจุดได้อย่างไร ทั้งตรงจุด ทั้งใช้ต้นทุนที่น้อยกว่า ซึ่งนี่ถือว่าเป็นพระอัฉริยภาพของในหลวงของเราจริงๆ
ทำมันต่อไป (keep doing it)
นอกจากจะมองเห็นปัญหา แก้ไขปัญหา การมองไปข้างหน้า มองหาโอกาส และ pain point ต่อๆ ไปก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ปัญหาอาจจะไม่ได้มีแค่ปัญหาเดียว ทางแก้ก็อาจจะไม่ได้มีแค่ทางออกเดียว
Post a Comment