Header Ads

หมากล้อมสร้างคน เรียบง่าย ชนะได้โดยไม่คิดเอาชนะ

“หมากล้อม” หรือ “โกะ” ถือกำเนิดที่ประเทศจีนเมื่อ 3,000 ปีก่อน...เป็นศิลปะแขนงหนึ่งในสี่แขนงของจีนที่สืบทอดมาแต่โบราณ ได้แก่ การเดินหมากกระดาน การเขียนพู่กันและการวาดรูป ซึ่งหมากกระดานในที่นี้หมายถึงหมากล้อมนั่นเอง โดยนิยมเล่นกันในหมู่ชนชั้นปัญญาชน



“ความว่าง” และ “ความว่าง” ก่อเกิด “รูป” เม็ดหมากที่แต่ละฝ่ายผลัดกันวางบนกระดาน หมากล้อมมี “คุณค่า” และ “ความหมาย” ที่ต่างกัน

เม็ดหมากแต่ละเม็ดไม่ได้มี “คุณค่า” ...ภายในตัวที่แตกต่างกันตั้งแต่แรก แต่คุณค่าของมันขึ้นอยู่กับมิติสัมพันธ์แห่งรูปทรงที่เม็ดหมากเชื่อมโยงกัน และบริบทที่อยู่รายรอบ

หมากล้อมมีความเป็นเอเชียอย่างมาก สำหรับชาวยุโรปแล้ว หมากล้อมสามารถสอนเรื่องวัฒนธรรมเอเชียได้เป็นอย่างดี เกมส์กระดานนี้นอกจากเหตุและผลแล้ว ยังเป็นเรื่องของ สัญชาตญาณ ประสบการณ์ และที่สำคัญคือกลยุทธ์ จนถึงปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดประสบความสำเร็จในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถเอาชนะนักเล่นหมากล้อมมืออาชีพที่ฝึกฝนมาเป็นอย่างดีได้


ชนะได้โดยไม่คิดเอาชนะ หมากล้อมเป็นเกมกีฬาที่มีการวางเม็ดที่เรียบง่าย แต่แฝงไว้ด้วยกลยุทธ์ทางความคิดด้านบวก อันชาญฉลาดและลึกซึ้ง

หมากล้อมเป็นเกมกระดานที่แตกต่างจากเกมกระดานอื่น เกมกระดานส่วนใหญ่หากจะบุก ต้องเข้าประชิด หากอยากชนะต้องฆ่าขุน แต่หมากล้อมไม่ใช่ เพียงแค่สร้างรากฐานให้มั่นคง ขยายพื้นที่ให้ได้มากที่สุด อ่านและเดินเกมอย่างล้ำลึก แม้ไม่ได้จับคู่ต่อสู้กินเลยแม้แต่เม็ดหมากเดียวเราก็สามารถชนะได้



คุณค่า 3 ประการของหมากล้อม

ปราชญ์ “เม้งจื้อ”ได้กล่าวไว้ว่า

“ความรู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นหลักของ หลี่

 มีไหวพริบ และวิจารณะญาณเป็นหลักของ จื้อ

ความรู้สึกเห็นใจผู้อื่นเป็นหลักของ เหยิน “

คุณค่าเหล่านี้ “หมากล้อม”ได้สอนผู้เล่นแล้วอย่างไม่รู้ตั


ในการเล่นหมากล้อมแต่ละกระดานนั้น ผู้เล่นจะได้รับประโยชน์และคุณค่า 3 ประการ คือ

1. หลี่

   ขงจื๊อ    เคยกล่าวเป็นปรัชญาไว้ว่า  “คนจะมีหลี่ หรือ มีมารยาทที่ดีได้นั้น ต้องมีความอบอุ่น (Warmth) ความเมตตากรุณา (Kindness) และ ความเป็นคนที่รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Consideration) ยิ่งไปกว่านั้น ต้องรู้จัก อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่โอ้อวด”  ผู้ที่เล่นหมากล้อมอย่างถูกหลักและตามเป้าหมายที่แท้จริง  จะทราบว่าในการเล่นแต่ละครั้งไม่มีใครที่จะชนะทุกกระดาน  และไม่มีใครเก่งเกินใคร หรือตรงกับสำนวนที่ว่า ” เหนือฟ้ายังมีฟ้า”  ซึ่งจะทำให้ผู้เล่นเข้าใจและสำนึกถึงความเป็น  “มนุษย์ที่ดี”  ไม่แก่งแย่งชิงดีกัน


2. จื้อ

หมายถึง  ความฉลาดปราดเปรื่อง ความรอบรู้ มีไหวพริบ และความเป็นอัจฉริยะ ขงจื้อกล่าวไว้ว่า ” การมีความรู้ที่แท้จริง คือ การไม่หลงเชื่อ งมงายกับสิ่งต่างๆอย่างง่ายดายโดยไม่ใช้วิจารณญานเสียก่อน ความเคลื่อนไหวของหมากล้อมในแต่ละเม็ดบนกระดาน นั้น เปรียบเสมือนเป็นการแสดงออกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน  มองเทคนิคและกลยุทธ์ของคู่เล่นอย่างลึกซึ้ง และพยายามทำความเข้าใจ โดยส่วนมาก เรามักจะไม่ยอมรับ และชื่นชมในความสามารถของ คู่เล่น  แต่หมากล้อมสอนให้เรายอมรับ  ผลที่จะตามมาก็คือ “ปัญญา” ที่ได้เพิ่มพูนขึ้น จากการเรียนรู้กลยุทธ์ของคู่เล่นนั่นเอง


3. เหยิน

ตามหลักภาษาศาสตร์ จะแปลได้ 2 ความหมาย คือ “ตัวคน” และอีกความหมายคือ “สอง” ซึ่งถ้ารวมกันแล้วจะแปลได้ความหมายว่า คนแต่ละคนจะต้องมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นในด้าน ศีลธรรม ความหมายของ “เหยิน” ในแง่ของหมากล้อม คือ ผู้เล่นจะต้องไม่หวังที่จะเอาชนะแต่อย่างเดียว แต่ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เล่น เพราะเราสามารถเรียนรู้เทคนิคและกลยุทธ์จากคู่เล่นได้ ในขณะเดียวกันคู่เล่นก็สามารถเรียนรู้จากเราได้เช่นกัน




โกะ หรือ หมากล้อม คือเกมหมากกระดานอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นเกมกลยุทธ์โบราณ ถือกำเนิดในประเทศจีน เมื่อเมื่อประมาณ 3,000-4,000 ปีก่อน

จากการเล่นหมากล้อมเป็นประจำจะช่วยฝึกนิสัย ทัศนคติ จนกระทั่งอาจถึง สัญชาติญาณ (ถ้าเล่นจนถึงขั้น) เกี่ยวกับเรื่องต่างๆดังนี้ 


1.  การวางแผน การตัดสินใจโดยใช้หลักเหตุผลมิใช่อารมณ์ 

2.  ความสำเร็จจะเกิดได้จากการผสมผสานระหว่างนโยบาย , กลยุทธ ,และ ยุทธวิธี ที่ดีพร้อม 

3.  การปรับกลยุทธตามสถานการณ์ณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ยอมรับความจริงและพร้อมที่จะปรับปรุง 

4. ผู้ที่ไม่พัฒนาย่อมล้าหลังและล่มสลาย ไปในที่สุด คือเราควรใช้ทรัพยากรทั้งหลายไปในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเรา จะทำให้เราทิ้งห่างขู้ต่อสู้ไปได้เอง ไม่ควรใช้ทรัพยากรทั้งหลายไปในทางทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม เพราะ "กำลัง" ที่มุ่งใช้ในการทำลายล้างมักมีปฏิกิริยาย้อนกลับรุนแรง 

5.  การแบ่งสรรปันส่วน : ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง ไม่มีทางได้ทั้งหมด เมื่อได้มาก็ต้องเสียไป เมื่อเสียไปแล้วค่อยหาทางได้กลับมา 



6. การจัดลำดับความสำคัญของงานต่างๆ โดยเฉพาะงานด่วนต้องทำก่อนงานใหญ่เสมอ 

7. การจัดดุลยภาพระหว่างเรื่องราวต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องในชีวิต เสมือนการ ดูแลสนามรบ "อย่าชนะสนามรบแต่แพ้สงคราม 

8.  ศึกษา "กำลัง" ที่เกิดจากการรวมตัว เป็นกลุ่มของหมากบนกระดาน การเปรียบเทียบกำลัง สะสมกำลัง การป้องกันการเสื่อมสลายและสุดท้ายคือการใช้ "กำลัง" อย่างมีธรรมะเพื่อการสร้างสรรค์ 

9.  การรู้จักประมาณ และเคารพผู้อื่น ในฐานะที่ต่าง ก็มีโอกาสเท่าเทียมกัน 

10.  เมื่อผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายมีฝีมือทัดเทียมกัน คนแพ้ก็คือ คนที่ทำผิดมากกว่าจึงฝึกให้มีความสุขุมรอบคอบควบคุมตัวเองให้ทำผิดน้อยที่ สุด รู้จักอดทนอดกลั้น โดยพยายามประคองตังเองเมื่อเพลี่ยงพล้ำ และแม้ว่าจะแพ้ก็ให้ประโยชน์ ในด้านการเตือนสติให้สำรวจตัวเองว่าเราได้ทำอะไรไปบ้าง จุดบกพร่องของเราอยู่ที่ไหน

11. ช่วยให้เข้าใจเรื่องความเปลี่ยนแปลง อันเป็นสัจธรรมของชาติของสิ่งทั้งหลายตามเหตูปัจจัยไม่ยึดติด ช่วยยกระดับภูมิจิตถึงความว่าง อันเป็นคุณภาพจิตขั้นสูงสุด


ไม่มีความคิดเห็น