Header Ads

โรงเรียนแนวใหม่กับการศึกษาไทยในชนบท "โรงเรียนมีชัย" ในหัวใจเด็กๆ

    ณ วันนี้ต้องยอมรับว่าเด็กรุ่นใหม่ คือ คนที่จะนำและพัฒนาสังคมรอบข้างให้ก้าวไปข้างหน้าได้ การศึกษา คือ ส่วนสำคัญในการยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้ทุกคนกินดี อยู่ดี และ สร้างสรรค์สิ่งดีๆ สู่สังคม เพราะขุมปัญญา เริ่มต้นจากอาหาร และการสร้างให้ทุกคนมี สินทรัพย์ในตัวเอง นั่นคือ การพัฒนาคุณภาพของคนที่แท้จริง

โรงเรียนมีชัยพัฒนา

โรงเรียนที่สอนทักษะชีวิต ทักษะอาชีพ เพื่อผลิตเด็กที่มีความรู้ และทักษะชีวิต กับ โรงเรียนมีชัยพัฒนา (Mechai Bamboo School) หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่าโรงเรียนไม้ไผ่ เป็นโรงเรียนระดับมัธยมแบบอยู่ประจำ ตั้งอยู่ที่อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ ปีพ.ศ.2551 ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 145 คน โดยประมาณ ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-6






โรงเรียนมีชัยพัฒนา ก่อตั้งขึ้นโดย คุณมีชัย วีระไวทยะ ในความคิดที่ว่า การคิดนอกกรอบ ในด้านการศึกษาไทยในปัจจุบันนั้นเน้นให้นักเรียนท่อง จำ และ นำไปสอบ แต่ไม่มีในเรื่อง นวัตกรรม ความคิดเห็นใหม่ๆ หรือ การคิดนอกกรอบ ไม่ได้เน้น ทักษะอาชีพ ไม่ได้เน้น ทักษะชีวิต การศึกษานั้นเราจำเป็นจะต้องให้เด็กศึกษาเป็น ค้นคว้าเป็น วิเคราะห์เป็น เสนอแนะเป็น ในปรัชญาที่ว่า "เรียนให้รู้ ไม่ใช่เรียนจำ"และท่านจึงได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นมาใหม่ ในชื่อว่า โรงเรียนมีชัยพัฒนานั่นเอง

เป้าหมายในการก่อตั้งโรงเรียน
1. ต้องมีวินัย
2. ต้องมีความซื่อสัตย์
3. แบ่งปันเป็น
4. ร่วมรับผิดชอบสังคม
5. รู้จักค้นคว้าหาคำตอบ
6. บริหารจัดการเป็น
7. ส่งเสริมความเสมอภาค เป็นต้น

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า โรงเรียนมีอีกชื่อหนึ่งว่าโรงเรียนไม้ไผ่ เพราะว่า อาคารต่างๆภายในโรงเรียนสร้างจากไม้ไผ่ เพราะ สามารถหาได้ง่ายและคงทนต่อทุกฤดูกาลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โดอเนกประสงค์ หรือเรียกว่า geodesic dome โดมไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ 700 ตารางเมตรสามารถบรรจุคนได้ 500คน เพื่อให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ออกกำลังกาย เคารพธงชาติ เป็นต้น ห้องเรียนที่สร้างจากไม้ไผ่ เพื่อเพิ่มบรรยากาศความเป็นธรรมชาติและเข้ากับการเรียนรู้


เรื่องค่าเทอม
โรงเรียนไม่ได้เสียค่าเทอมเป็นเงิน แต่เป็นการทำความดี 400ชั่วโมงต่อปีการศึกษา และปลูกต้นไม้ 400 ต้น ต่อ ปีการศึกษา ทั้งผู้ปกครองและตัวนักเรียน เพราะ เรามองเห็นว่า การจ่ายค่าเทอมนั้น เราไม่จำเป็นต้องให้ผู้ปกครองจ่ายเป็นฝ่ายเดียว นักเรียนก็สามารถจ่ายค่าเทอมได้เองด้วย ที่ให้เป็นการทำความดี เพราะ เราไม่จำเป็นต้องเสียค่าเทอมเป็นเงิน ในความคิดที่ว่า เด็กบางคนที่ไม่มีเงินแต่เราสามารถทดแทนโดยการทำความดี ที่เรียกว่าน้ำใจ นั้นเอง

"เราไม่ได้เรียนฟรี แต่เราจ่ายในสิ่งที่เรามี คือ เวลา และ น้ำใจ"
การคิดนอกกรอบ ในที่นี้ไม่ใช่การคิดนอกระเบียบ แต่เป็นการให้นักเรียนได้รู้จักการคิดใหม่ๆ เช่น การทาสีทางเดินในโรงเรียน การทาสีต้นไม้ในโรงเรียน ในความคิดที่ว่า คนเราก็ยังอยากสวยงามจึงต้องแต่ง ต้นไม้ก็เช่นกัน
ทาสีโอ่งหน้าโรงเรียน เพื่อเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้น


นักเรียนทุกคนจะต้องนั่งรถเข็น เดือนละหนึ่งครั้ง เพื่อ ให้รู้ถึงคนที่นั่งรถเข็นลำบากแค่ไหน เพื่อสร้างความเข้าใจ และหาทางแก้ไขให้กับคนที่นั่งรถเข็น ในปัจจุบันนั้น คนที่นั่งรถเข็นไม่สามารถขึ้นรถไฟฟ้าได้ ไม่สามารถขึ้นรถแท็กซี่ได้ การที่นักเรียนนั่งรถเข็น จึงทำให้ เข้าใจถึงความยากลำบาก และภายในโรงเรียนยังมี สวนเกษตรเพื่อคนนั่งรถเข็น หรือเรียกว่า wheelchair agriculture นั่นเองค่ะ


การมีชั่วโมงการตั้งคำถาม โดยที่นักเรียนเป็นคนถามและให้คุณครูตอบ หรืออาจจะเป็นการตั้งคำตอบ เพื่อหาคำถาม

การใช้โทรศัพท์ ในปัจจุบันนั้น คนไทยได้ตกเป็นทาสของสื่อออนไลน์กันเป็นจำนวนมาก เราจึงฝึกให้นักเรียนเป็นคนมีระเบียบวินัย คือ การใช้โทรศัพท์ สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ครั้งละ หนึ่งชั่วโมง โดยการต้องเขียนจดหมาย 3ฉบับ เพื่อแลกกับการใช้โทรศัพท์หนึ่งครั้งกันเลยทีเดียว เพื่อให้นักเรียนรู้จักฝึกทักษะการใช้ภาษา เพราะ ต้องเขียนถึง พ่อแม่ เพื่อน และบุคคลสำคัญ จึงใช้ระดับภาษาต่างกัน และ การที่นักเรียนได้ใช้โทรศัพท์นั้น ต้องแลกกับการอดอาหารมื้อเย็นหนึ่งมื้อ เพื่อให้รู้สึกถึงคนที่ไม่มีอาหาร และเข้าใจถึงความยากลำบาก สิ่งเหล่านี้ เราไม่สามารถอ่านจากหนังสือได้ ทุกอย่างต้องเกิดจาการปฏิบัติจริง

นอกจากนี้ ยังมีการให้นักเรียนได้ทำธุรกิจเป็น เพราะ ในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่คนที่จบแล้ว เป็นนายจ้างตัวเอง ถึงเจ็ดสิบเปอร์เซ็น แต่สิ่งเหล่านี้กลับไม่มีสอนภายในโรงเรียน มีกองทุนเงินกู้ให้ผู้ปกครอง มองว่า โรงเรียนสามารถแเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ ของทุกคนในชุมชน รวมถึงผู้ปกครองด้วย

โรงเรียนยังเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอีกด้วย การทำแบบนี้ เราจำเป็นต้องเปลี่ยนบทบาทของโรงเรียนในเรื่องการพัฒนา

ภายในโรงเรียนมีการสอบสัมภาษณ์ครู เรามองว่า ครูเป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิต ของบางอย่างเราสามารถนำเงินซื้อมาได้ แต่ครูคนที่ให้ความรู้กับตัวเรา ทำไมเราจึงเลือกไม่ได้


คุณครูโรงเรียนมีชัย

โรงเรียนมีชัยพัฒนา
ภูมิลำเนาของนักเรียนนั้นมาจาก 20 กว่าจังหวัดทั่วประเทศ เช่น น่าน กาญจนบุรี อยุธยา สงขลา มหาสารคาม เป็นต้น นอกจากนี้ ยังขยายโอกาสให้กับนักเรียนชาติพันธุ์ อีกด้วย เช่น มอญ ม้ง กะเหรี่ยง เป็นต้น



การบริหารโรงเรียน
บริหารโดยนักเรียน และมีคุณครูให้คำแนะนำ
คณะมนตรีโรงเรียน โดยจะมีนักเรียนทุกระดับชั้นเป็นสมาชิก และ ในโรงเรียนยังมีการแบ่งเป็นคณะย่อยๆ เช่น คณะจัดซื้อ หน้าที่คือ ออกไปจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับโรงเรียนและธุรกิจ และยังจัดซื้อรถโรงเรียนเช่นกัน คณะตรวจสอบ ว่าเป็นไปตามเอกสารหรือไม่ เช่น อุปกรณ์ทำความสะอาด อุปกรณ์ก่อสร้าง เป็นต้น


นอกจากจะส่งเสริมทางด้านทักษะต่างๆแล้ว ยังสอนให้นักเรียนรู้ จักแบ่งปันอีกด้วย แบ่งปันในสิ่งที่มี เช่น การจัดตั้งแปลงเกษตรเพื่อขจัดความยากจน การแบ่งปันสระว่ายน้ำ ในปัจจุบันนั้น การจมน้ำเสียชีวิตของเด็กภายในภาคอีสานถือว่าสูง เพื่อป้องกันการเสียชีวิต จึงมีการให้ความรู้กับเด็ก


การทำกิจกรรมจิตอาสา


ศึกษานวัตกรรมใหม่ๆ

โรงเรียนมีการให้นักเรียนหาประสบการณ์ช่วงปิดเทอมในสถานที่ต่างๆ


นอกจากการฝึกประสบการณ์ช่วงปิดเทอมแล้ว นักเรียนบางส่วนยังได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่โรงเรียนรุ่งอรุณ โรงเรียนนานาชาติรีเจ้นท์ ประเทศแคนาดา ประเทศอังกฤษ และ ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น





ไม่มีความคิดเห็น